การถ่ายทอดความรู้ ประจำปีการศึกษา 2559
การถ่ายทอดความรู้ ประจำปีการศึกษา 2560
“การใช้ Social Media เป็นสื่อผสมสำหรับการเรียนการสอน”
การจัดการความรู้คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา ประจำปีการศึกษา 2560
จากการแลกเปลี่ยนสนทนากันระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการใช้ Social Media ในการจัดการเรียนการสอน ในประเด็นเรื่องการใช้ Social Media เป็นสื่อผสมสำหรับการเรียนการสอน แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ ดังนี้
Social Media สำหรับการเรียนรู้
1.1 Course Management
– ข่าวประกาศ
-ส่งการบ้าน
-การแจ้งเตือน
-การสนทนาแลกเปลี่ยน
-แนบไฟล์หรือวีดีโอ
-สื่ออื่นๆ
1.2 EDUFARM
-https://lms.ku.ac.th
1.3 Google Classroom
-https://classroom.google.com
1.4 Facebook Group
-https://www.facebook.com/groups
1.5 Gradescope
-https://gradescope.com
1.6 แผนการศึกษาวิจัย
-MOOC (Massive Open Online Courses)
-Video and Youtube
-Intro รวบรัด ดึงดูดความสนใจ
-เสนอภาพที่เด็ดที่สุดใน 2 นาทีแรก
-จากนั้นลงรายละเอียดเชิงลึกได้
-ภายในไม่เกิน 7 นาทีต้องสลับมาเสนอสิ่งที่น่าสนใจอีกครั้ง
-ลงท้ายด้วย outtro
-Game
-Social Network
-Podcast
“งานวิจัยเพื่อสังคมปัจจุบันตอบสนองความต้องการของชุมชน”
การจัดการความรู้คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา ประจำปีการศึกษา 2560
จากการแลกเปลี่ยนสนทนากันระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย ในประเด็นเรื่องงานวิจัยเพื่อสังคมปัจจุบันตอบสนองความต้องการของชุมชน แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ ดังนี้
งานวิจัยเพื่อสังคมปัจจุบันตอบสนองความต้องการของชุมชน
- การส่งบทความวิจัยเพื่อเผยแพร่ (เน้นคุณภาพ)
– การประชุมวิชาการ
– การส่งตีพิมพ์ในวารสาร
- การขอทุนสนับสนุนงานวิจัย
– ทุนวิจัยภายในคณะ (มีผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและแนะนำ)
– องค์ความรู้ใหม่ 50,000 บาท
– บูรณาการกับหน่วยงานภายนอก (ที่ไม่ใช่สถาบันการศึกษา) 100,000 บาท
– หมายเหตุ รับช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อทำวิจัยในปีงบประมาณถัดไปในเดือนตุลาคม
– ทุนวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัย (เน้น)
- การทำงานวิจัยร่วมกับสถาบันชั้นนำต่างประเทศ
– หน่วยงานวิจัยในต่างประเทศจะต้องเป็นสถาบันชั้นนำและเป็นที่ยอมรับโดยพิจารณาจากผลการจัดอันดับด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ หรือเทคโนโลยี ซึ่งอยู่ใน 100 อันดับแรกของโลกของสถาบันจัดอันดับที่มีความน่าเชื่อถือและมีผลงานวิจัยในสาขาวิจัยที่ผู้ขอรับทุน โดยจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิจัยและบริการวิชาการ และคณะกรรมการประจำคณะฯ
– ระยะเวลาในการไปทำวิจัยต้องไม่เกิน 4 เดือน นับจากวันที่เดินทางไปและกลับมาปฏิบัติงานและสามารถไปได้เพียง 1 ครั้ง ในรอบ 2 ปี โดยถ้าไม่สามารถตีพิมพ์บทความวิจัยได้จะไม่รับพิจารณาในการขออนุมัติครั้งต่อไป
– การให้ทุน
– คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชาจะสนับสนุนค่าใช้จ่ายในวงเงินสนับสนุนตามที่จ่ายจริง
รวมแล้วต้องไม่เกิน 200,000 บาทต่อคนต่อครั้ง
- การให้เงินรางวัลสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อการจดสิทธิบัตร
และอนุสิทธิบัตร
เกณฑ์การสนับสนุนและการให้เงินรางวัล
– ประเภทสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สนับสนุน 100,000 บาทต่อสิทธิบัตร
– ประเภทอนุสิทธิบัตร สนับสนุน 20,000 บาทต่ออนุสิทธิบัตร
– ประเภทสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ สนับสนุน 20,000 บาทต่อสิทธิบัตร
- งานวิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน
การติดต่อกับชุมชน
– เทศบาล
– ผู้นำชุมชน
– หนังสือแจ้งไปยังเทศบาลและทุกผู้นำชุมชน
– การประชาสัมพันธ์
– เพจเฟสบุ๊คบริการวิชาการคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา
– การทำหนังสือ Pocket book ให้ความรู้แจก
โจทย์วิจัยและบริการวิชาการเพื่อชุมชน
– ระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำเสีย
– การเก็บและการกำจัดขยะ การนำขยะไปใช้ประโยชน์
– การส่งเสริมอาชีพเสริม
– การให้ความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม
– การอนุรักษ์และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของชุมชน
“การสร้างเอกสารและบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร”
การจัดการความรู้คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา ประจำปีการศึกษา 2560
จากการแลกเปลี่ยนสนทนากันระหว่างอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการใช้งาน Google Suite และ Microsoft word ขั้นสูง แบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ได้ ดังนี้
การสร้างเอกสารและบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร
- Google Team & Google Drive
ข้อดีของ Google Team
– ไม่ต้องแชร์ลิงค์ (ไม่ต้องกลัวลิงค์หาย)
– เมื่อคนใดคนหนึ่งออกจากกลุ่มหรือไม่สามารถปฏิบัติงานได้ คนอื่นๆในกลุ่มก็ยังคงเข้าถึงเอกสารได้อยู่
– สามารถสร้างได้หลายกลุ่ม
– สามารถกำหนดสิทธิการเข้าถึงได้ง่าย
– ลดคนถาม (สำคัญมาก)
ข้อดีของ Google File Stream
คุณลักษณะ | Drive file Stream | การสำรองข้อมูลและซิงค์ |
เข้าถึงไฟล์ในไดรฟ์ของฉัน | P | P |
เข้าถึงไฟล์ในไดรฟ์ของทีม | P | û |
สตรีมไฟล์ตามความต้องการ | P | û |
ซิงค์เฉพาะโฟลเดอร์ที่เลือกในไดรฟ์ของฉัน | P | P |
ซิงค์เฉพาะแต่ละไฟล์ในไดรฟ์ของฉัน | P | û |
ใช้แอปพลิเคชั่นที่มาพร้อมเครื่อง เช่น MS Word และ Photoshop | P | P |
ซิงค์โฟลเดอร์อื่นๆ เช่น Documents หรือ Desktop | û | P |
- Google Suite
– เป็นชุดเครื่องมือต่างๆที่ใช้จัดการงานเอกสาร, งานบุคคล, ตารางนัดหมาย อีเมล์และอื่นๆ ในรูปแบบออนไลน์ ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สามารถเข้าใช้งานได้ในรูปแบบฟรีและเสียเงิน
– ชุดเครื่องมือใน Google Suite ที่ใช้ในการอบรม ประกอบด้วย
– Google Docs คล้ายกับ MS Word แต่ทำงานแบบ Online
– Google Sheets คล้ายกับ MS Excel แต่ทำงานแบบ Online
– Google Forms แบบสอบถามแบบ Online
วิธีการสร้าง
– สร้างแบบสอบถาม
– สร้าง Template
– ตั้งค่า Form Publisher
– ทดสอบการทำงาน
- Google Form
– เป็นส่วนหนึ่งในบริการของกลุ่ม Google Suite ที่ช่วยให้เราสร้างแบบสอบถามออนไลน์ หรือใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Google Form ผู้ใช้สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้งานได้หลายรูปแบบ อาทิเช่น การทำแบบฟอร์มสำรวจความคิดเห็น การทำแบบฟอร์มสำรวจความพึงพอใจ การทำแบบฟอร์มลงทะเบียน และการลงคะแนนเสียง เป็นต้น
– วิธีการสร้าง
– สร้างแบบสอบถาม
– สร้าง Template
– ตั้งค่า Form Publisher
– ทดสอบการทำงาน
- Google Docs
– เป็นบริการออนไลน์ที่สามารถจัดการเอกสารโดยใช้อีเมล์ของ Gmail และต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งมีลักษณะการเหมือนโปรแกรม Microsoft Word
– วิธีการสร้าง
– สร้างแบบสอบถาม
– สร้าง Template
– ตั้งค่า Form Publisher
– ทดสอบการทำงาน
- From Publisher
– From Publisher เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสร้างเอกสารตอบกลับแบบอัตโนมัติ โดยจะทำการแปลงข้อมูลในแบบสอบถาม Google Form ให้อยู่ในรูปของเอกสาร PDF หรือเอกสาร Google Docs แล้วทำการส่งเอกสารเหล่านี้กลับไปยังผู้กรอกแบบสอบถามโดยอัตโนมัติ
– วิธีการสร้าง
– สร้างแบบสอบถาม
– สร้าง Template
– ตั้งค่า Form Publisher
– ทดสอบการทำงาน
- Google Calendar
– บริการปฏิทินออนไลน์ของ Google ซึ่งทำให้คุณสามารถเก็บข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆรวมไว้ในที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำหนดการนัดหมาย และกำหนดเวลาเหตุการณ์ต่างๆ สามารถส่งข้อความเชิญ สามารถใช้ปฏิทินร่วมกับเพื่อนร่วมงาน และค้นหาเหตุการณ์ต่างๆได้