กลุ่มวิจัยนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการก่อสร้าง
หัวหน้ากลุ่ม อ.ดร.ดาราพร ผุสิงห์
หลักการและเหตุผล
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัย 14 กลุ่ม ที่ตอบสนองงานวิจัยวิศวกรรมในด้านต่างๆ อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นกุญแจสำคัญในการวิจัยของงานวิศวกรรมเพื่อการยกระดับงานวิจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเร่งด่วนจากรัฐบาลให้เกิดการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Economic Corridor of innovation, EECi) ในการนี้ กลุ่มวิจัย นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการก่อสร้าง The Innovation in Infrastructure and Construction Management Research Group (IICM) มุ่งเน้นการผลิตงานวิจัยด้านนวัตกรรมของวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการก่อสร้าง และในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อตอบสนองความต้องการของการพัฒนาภูมิภาคตะวันออก ตามวิสัยทัศน์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกลุ่มวิจัย
1.เพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูล (Database Management System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบ บริหารงานก่อสร้างและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
2.เพื่อศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System) เพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและติดตามผลการดำเนินงาน และยกระดับความปลอดภัยของระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
3.เพื่อศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ในงานสำรวจ ออกแบบ บริหารงานก่อสร้าง และบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
4.เพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานออกแบบบริหารงานก่อสร้างและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
5.เพื่อศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมในการออกแบบบริหารงานก่อสร้างและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
6.เพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบสมองกลอัจฉริยะ (Artificial Intelligent) เพื่อการสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City)
7.เพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบอัตโนมัติ (Automation System) ในงานวิศวกรรมโยธาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานก่อสร้างอาคารโครงสร้างพื้นฐานและระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ
8.เพื่อศึกษาวิจัยพฤติกรรมการตอบสนองของโครงสร้างถนน อันเกิดจากแรงกระทำของน้ำหนักรถบรรทุกและปัจจัยภายนอกต่างๆ ข้อมูลด้านสมรรถนะและอายุบริการทางหลวง (Highway Performance) ภายใต้สภาพการใช้งาน เงื่อนไขและบริบทของประเทศไทย
9.เพื่อศึกษาวิจัยการพัฒนาระบบอาคารและโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Building and Infrastructure)
10.เพื่อศึกษาวิจัยการเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดย่อม
โครงการที่ดำเนินการอยู่
โดย ผศ.ดร.อนุวัฒน์ อรรถไชยวุฒิ
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาพฤติกรรมและสมบัติของคอนกรีตไหลได้ผสมเส้นใยสังเคราะห์เมื่อมีการเรียงตัวที่แตกต่างกัน”, โครงการวิจัยแบบบูรณาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา ปีงบประมาณ 2563 สถานภาพสำเร็จร้อยละ 80 เขียนบทความได้ร้อยละ 70 สำหรับตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติ คาดว่าตีพิมพ์ภายในเดือนมิถุนายน 2564
- โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาสมบัติการไหลของมอร์ตาร์ไหลได้ที่ผลิตจากปูนซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของโคลนเผาและผงหินปูน”, โครงการวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา ปีงบประมาณ 2564 สถานภาพสำเร็จร้อยละ 10 เริ่มการทดสอบได้เพียงร้อยละ 20 ของการทดสอบทั้งหมด ความก้าวหน้าช้ากว่าที่วางแผนไว้เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 คาดว่าจะดำเนินการสำเร็จภายในเดือนตุลาคม 2564
- เสนอโครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบกำลังรับแรงของพื้นคอนกรีตไหลได้เสริมเส้นใยโพลีโพรพิลีน” เพื่อขอรับการสนับสนุนทุนอุดหนุนวิจัยเพื่อพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2564 ส่งข้อเสนอเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564
บทความวิจัย
โดย ผศ.ดร.อนุวัฒน์ อรรถไชยวุฒิ
- บทความวิจัยเรื่อง “สมบัติการไหล, ความหนืด และแรงเสียดทานภายในของมอร์ตาร์เติมเต็มแบบด้วยตนเองแบบดั้งเดิม”, ส่งวารสาร KMUTT Research & Development Journal (TCI 1) เมื่อ 10 พ.ย. 2563 (Under review)
- บทความวิจัยเรื่อง “กำลังรับแรงดัดของแผ่นซีเมนต์เส้นใยที่ใช้เศษแผ่นยิปซัมนำกลับมาใช้ใหม่แทนที่มวลรวมละเอียดบางส่วน”, ส่งวารสาร วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (TCI 2) ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – เมษายน พ.ศ. 2564 เมื่อ 22 ม.ค. 2564 (Under review)