ข่าวสาร
June 1, 2023
ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า” (รุ่นที่2)
เปิดรับรุ่นที่ 2คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ร่วมกับ KBM Technologies จัดกิจกรรมฝึกอบรมพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า” (รุ่นที่2)ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก🗓️ วันที่ 10-11 มิถุนายน 2566⏰ เวลา 8.00- 17.00 น.📍ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา🎯 รับสมัคร 30 ท่าน อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมรับใบประกาศนียบัตร
อ่านต่อ >>
June 1, 2023
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการอบรมเชิงปฎิบัติการ "การตรวจสอบและการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า" ภายใต้โครงการพัฒนาบุคลากรสู่เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก🗓️ วันที่ 10-11 มิถุนายน 2566⏰ เวลา 8.00-17.00 น.📍 สถานที่: อาคาร 23 ปฏิบัติการวิจัยทางวิศวกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา👉 วิทยากร : ทีมคณาจารย์จากหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยียานยนต์และพลังงานทางเลือก (Automotive Technology and Alternative Energy Research Unit) และผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก🎯 รับจำนวน 30 คน สมัครก่อนมีสิทธิ์ก่อน พร้อมรับใบประกาศนียบัตร เมื่อผ่านการฝึกอบรม📞 ติดต่อ: 0830393545 หรือ manida@eng.src.ku.ac.th (ผศ.ดร.มานิดา ทองรุณ)
อ่านต่อ >>
May 31, 2023
กิจกรรมคุณช้างจับมือ 2023 นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาเลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วมจัดทำ “คุณช้างจับมือ” โดยกิจกรรมจะมีการเย็บคุณช้างจับมือ เพื่อนำไปช่วยผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือ โรคที่มีภาวะสมองผิดปกติ ที่มีอาการมือเกร็ง ซึ่งจะมีการนำคุณช้างจับมือที่นิสิตได้ทำขึ้นไปแจกจ่าย ส่งให้กับผู้ป่วยที่ต้องการ และหากได้จำนวนมากพอควรเราจะส่งไปตามสถานสงเคราะห์คนชราและโรงพยาบาลในลำดับถัดไป
อ่านต่อ >>
May 30, 2023
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา นำโดย รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง และ รศ.ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับ Professor, Minoru Okada, Ph. D. พร้อมด้วย Professor, Kenichi Matsumoto, Dr. Eng., Professor, Ohta Jun, Dr. Eng., Professor, Tadashi Nakano, Professor of Graduate School of Science and Technology, Nara Institute of Science and Technology (NAIST) และคณาจารย์จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.ภัทร ลีลาพฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ รศ.ดร.อรทัย จงประทีป ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา และเจรจาความร่วมมือในการรับนิสิตสหกิจศึกษาและฝึกงานระยะสั้นในด้าน Material Science และ Digital/Information Technology ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา กับ NAIST รวมถึงการร่วมมือกันจัดทำ Double Master Degree ในสาขา Mechanical and Design Engineering
อ่านต่อ >>
May 29, 2023
depa ร่วมกับ ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผนึกกำลังสร้างบุคลากรด้าน Low Code รองรับปริมาณความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศ โดยส่งเสริมให้เกิดการนำแพลตฟอร์ม Low Code / No Code ในชื่อ Mendix มาใช้ยกระดับความรู้และทักษะให้กับกำลังคน ก่อนผลักดันให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยตั้งเป้าสร้างกำลังคนดิจิทัลภายในปีแรกมากกว่า 100 คน และคาดว่าจะเพิ่มสู่ระดับพันคนภายในระยะเวลา 3 ปี พร้อมประเมินว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) พร้อมด้วย นายปนายุ ศิริกระจ่างศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TBN และ รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัลและพัฒนาทักษะสู่ยุคดิจิทัล ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ผศ.ดร.ณัฐพล เปิดเผยว่า หนึ่งในภารกิจสำคัญที่ depa ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องคือ การพัฒนากำลังคนสู่ยุคดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับการติดอาวุธให้กับประชาชนไทยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมผ่านกระบวนการ Upskill, Reskill และ New Skill โดยความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านดิจิทัลให้กับประชาชนในทุกระดับ รองรับสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการบุคลากรด้านดิจิทัลของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง "สำหรับความร่วมมือการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัลและพัฒนาทักษะสู่ยุคดิจิทัลระหว่าง depa ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะช่วยยกระดับกำลังคนดิจิทัล (Digital Workforce) ด้าน Low Code ผ่านหลักสูตรและรับประกาศนียบัตรสากลของ Mendix Academy ก่อนผลักดันให้เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศ นำร่องด้วยการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาเขตศรีราชา ซึ่งถือเป็นพื้นที่เป้าหมายในการสร้าง Digital Workforce เพื่อเติมเต็มระบบนิเวศดิจิทัลในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยภายในปีแรกตั้งเป้าพัฒนาบุคลากรดิจิทัลผ่านโปรแกรม Train the Trainer มากกว่า 100 คน และคาดว่าจะเพิ่มสู่ระดับพันคนภายในระยะเวลา 3 ปี นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ พร้อมประเมินว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี" ผู้อำนวยการใหญ่ depa กล่าว ด้าน นายปนายุ กล่าวว่า ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น คือผู้ออกแบบ พัฒนา และให้บริการแพลตฟอร์ม Low Code / No Code ในชื่อ Mendix รายแรกที่มีประสบการณ์มากที่สุดในประเทศไทย โดยบริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลที่เป็นส่วนสำคัญของระบบนิเวศที่จะขับเคลื่อนองค์กรและประเทศรองรับการแข่งขันในโลกยุคดิจิทัล ช่วยให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดย Mendix ถือเป็นแพลตฟอร์ม Low Code / No Code ชั้นนำของโลกในปัจจุบันและเป็นนวัตกรรมที่จะช่วยสร้างกำลังคนดิจิทัลของประเทศ ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน ก่อนพัฒนาทักษะเข้าสู่กระบวนการจ้างงานในอุตสาหกรรมดิจิทัลได้ทันที "ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น มุ่งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร Low Code ในไทยเพื่อรองรับการเป็นศูนย์กลางด้าน Low Code ของภูมิภาคผ่านการอบรมกับหลักสูตรมาตรฐานของ Mendix Academy และสามารถสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรระดับสากล ซึ่งจะช่วยสร้างแรงงานดิจิทัลที่มีศักยภาพก่อนป้อนเข้าสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมจริง" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น กล่าว ขณะที่ รศ.ดร.สถาพร กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายสำคัญในการพัฒนาบุคลากรและกำลังคนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) เพื่อรองกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกในหลากหลายมิติ ขณะเดียวกันการเขียนโปรแกรมหรือแอปพลิเคชันผ่านแพลตฟอร์ม Low Code / No Code นับเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาทักษะดิจิทัลที่จะช่วยให้กำลังคนดิจิทัลสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานจำเพาะของตนเองหรือองค์กร ลดความซับซ้อนในการเขียนโปรแกรม และใช้เป็นเครื่องมือในการทำ Digital Transformation ให้กับองค์กร ส่งผลให้การทำงานเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ "ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นจึงเกิดเป็นความร่วมมือการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิทัลและพัฒนาทักษะสู่ยุคดิจิทัลระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ depa และ ทีบีเอ็น คอร์ปอเรชั่น ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการยกระดับบุคลากรดิจิทัลผ่านการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะด้าน
อ่านต่อ >>