ข่าวสาร
September 15, 2024
ทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือกจาก 1 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท. วันที่15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี - การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป โดยทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ติด1 ใน 5 ทีม ที่ได้รับการคัดเลือกจาก กยท. พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ในชื่อผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post - Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง รายชื่อสมาชิกในทีมRobodis 1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
อ่านต่อ >>
September 14, 2024
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในหัวข้อ Decarbonization and Net Zero Strategies for the Automotive Industry ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 ณ อาคาร 15 ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีรายละเอียดในการให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการประเมินและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก ข้อกำหนดมาตรฐานสากลในการรายงานก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อพัฒนาไปสู่ Net Zero Emission
อ่านต่อ >>
September 10, 2024
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ต้อนรับคณะครูและนักเรียนโรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน เข้าศึกษาหลักสูตรการเรียนการสอนภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า วันที่ 9 กันยายน 2567 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา นำโดย รศ.ดร.อบ นิลผาย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาองค์กร พร้อมด้วย รศ.ดร.ไพโรจน์ ทองประศรี หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คุณจิรดาวัลย์ จรุงธรรมโชติ หัวหน้าสำนักงานเลขานุการ และคณาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ต้อนรับคณะครูและนักเรียนชั้น ม.6 โครงการพิเศษวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ โรงเรียนจักรคำคณาทร จ.ลำพูน ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา พร้อมศึกษาข้อมูลหลักสูตร การเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมสำหรับการสมัครในรอบ TCAS’68 ของภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และการเยี่ยมชมห้องปฏิบัติของทางภาควิชา เพื่อสร้างประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุมศึกษาต่อไป
อ่านต่อ >>
September 7, 2024
depa ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มก. Upskill ทักษะดิจิทัลแห่งอนาคต แก่แรงงานไทยที่ไม่มีโอกาสและจะตกงาน (Future Digital Skill for Workforce) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) นำโดย ดร.กิตติ ขุนสนิท ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมแพลตฟอร์มและบริการดิจิทัล จัดยกระดับทักษะแห่งอนาคต ด้านดิจิทัลชื่อหลักสูตร API Design and Cloud Architecture using Python ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ในลักษณะหลักสูตรเข้มข้นระยะสั้น ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 7 - 8 กันยายน 2567 จำนวน 2 วันเต็ม ในรูปแบบ Onsite ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี โดยมีทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา นำโดย อ. จิรวัฒน์ จิตประสูตวิทย์ พร้อมด้วย อ. กาญจนา เอี่ยมสอาด อ. ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ และ อ. ไพรัช สร้อยทอง ดร.กิตติ ขุนสนิท กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่แรงงานไทยที่ไม่มีโอกาสและจะตกงาน สำหรับบุคคลทั่วไปที่กำลังหางาน, นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย, นักศึกษาที่จบแล้วไม่เกินสองปีและกำลังหางาน โดยหลักสูตรนี้ depa จะส่งเสริมพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในการสร้าง Web Service บนพื้นฐานของโปรโตคอล HTTP และ HTTPS ที่ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย โดยในหลักสูตรมีการฝึกปฏิบัติการเขียน FastAPI และ RESTful API ตลอดจนเรียนรู้ การสร้าง API บน Cloud เพื่อให้สร้างโอกาสให้แรงงานไทย และความพร้อมให้กับแรงงานยุคใหม่ในภาคอุตสาหกรรมและระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ต่อไป หลักสูตรนี้มีผู้สนใจสมัครจำนวนมาก โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 50 คน ตามกลุ่มเป้าหมายจากทั่วประเทศ พร้อมทั้งหลักสูตรได้ออกแบบใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยในยุคปัจจุบัน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมดังนี้ #API Design Principles ㆍ Introduction to API Design using Python ㆍ RESTful Architecture Following HTTP Methods ㆍ Versioning and Documentation Using Swagger ㆍ Error Handling with HTTP Codes ㆍ Writing APIs to Interact with Databases ㆍ Single and Multifile Upload/Download ㆍ API Authentication Using OAuth2.0 and JWT #Cloud Architecture Introduction to Google Cloud Platform (GCP) Google Cloud Management Tools Networking and Security Using Docker with GCP Implementing the API Gateway Using Cloud Function ทั้งนี้ ดร.กิตติ ขุนสนิท ยังได้แนะนำ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และภาระกิจหลัก ของสำนักงานฯ แก่ผู้เข้าร่วมหลักสูตร หากผู้ที่สนใจร่วมงานในสายงานด้านดิจิทัล กับ depa ผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ www.depa.or.th เมนูร่วมงานกับ depa #FutureDigitalSkillforWorkforce#python#APIDesign#Platform#KUSRC#KU#Cloud#ข้อมูลเมือง#depa#MDES#ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัล#FacultyofEngineeringatSriracha
อ่านต่อ >>
September 5, 2024
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ University of Ulsan (UoU) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2567 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา รักษาการแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.มานิดา ทองรุณ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต วิทยาเขตศรีราชา รศ.ดร.ณัฐพล จันทร์พาณิชย์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ ผศ.ดร.ศักดิ์ดา ธงชาย ประธานหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์ (นานาชาติ) ได้เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ University of Ulsan (UoU) ประเทศเกาหลีใต้ โดยมี Prof. Dr. Chiwoon Cho รองอธิการบดี University of Ulsan พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับและร่วมลงนามในพิธี โดยการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อสร้างความร่วมมือในด้านวิชาการ หลักสูตรการศึกษา และงานวิจัย เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างงานวิจัยในเชิงพาณิชย์และผลงานตีพิมพ์ที่มีผลกระทบสูง พร้อมกันนี้ ได้เดินทางไปยัง Ulsan Technopark เพื่อเยี่ยมชมเทคโนโลยีทางเลือกและ Hydrogen Fuel Technology
อ่านต่อ >>