ข่าวสาร
September 17, 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา นำโดย รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา รักษาการแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา และ รศ.ดร. อบ นิลผาย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาองค์กร ได้เข้าร่วมเดินทางพร้อมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยไทยทั้ง 11 แห่ง ในการศึกษาดูงานและประสานความร่วมมือกับบริษัทเอกชนและสถาบันการศึกษา ณ เมืองเซินเจิ้นและเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทางด้านระบบหุ่นยนต์และอัตโนมัติ รวมทั้งเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า โดยมีบริษัทเอกชนชั้นนำให้การต้อนรับ ได้แก่ Dobot Robotics, BYD, CATL, และ GuangDong He Ying พร้อมทั้งสถาบันการศึกษาของจีนมากกว่า 30 แห่ง ในระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
อ่านต่อ >>
September 17, 2024

ทีมRobodis และทีม KU Ducky Team จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือก 2 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท. วันที่ 15 ก.ย. 67 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี - การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้ส่งนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 2 ทีม และได้รับคัดเลือกจากทาง กยท. ทั้ง 2 ทีม พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ดังนี้ ผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” จากทีมRobodis ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post - Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงาน “Intelligent IoT Rubber Tapping Robot” จากทีม KU Ducky Team สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) ประเภทโจทย์การแข่งขัน Rubber Tapping Efficiency : การใช้ IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของ rubber tapping โดยมี ผศ.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง รายชื่อสมาชิกในทีม Robodis 1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ รายชื่อสมาชิกในทีม KU Ducky Team 1. Mr. Arya Pangging ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) 2. Mr. Pattanawit suriyo ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) 3. Mr. Shine Lin Htet ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
อ่านต่อ >>
September 16, 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา จัดโครงการเสริมศักยภาพนิสิต ในกิจกรรมอบรมขับขี่ปลอดภัย ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้เกี่ยวกับกฏจราจรและการใช้รถใช้ถนนให้ถูกต้อง เกิดจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจร โดยมี นายพิรุฬห์ ผลพานิช หัวหน้าครูฝึกสอนจากบริษัท มิตรยนต์พัทยา จำกัด และทีมงาน เป็นวิทยากรให้ความรู้ทั้งในภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ณ อาคาร 23 ปฏิบัติการวิจัยทางวิศวกรรม
อ่านต่อ >>
September 15, 2024

ทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือกจาก 1 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท. วันที่15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี - การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป โดยทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ติด1 ใน 5 ทีม ที่ได้รับการคัดเลือกจาก กยท. พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ในชื่อผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post - Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง รายชื่อสมาชิกในทีมRobodis 1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
อ่านต่อ >>
September 14, 2024

คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย และสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย จัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับภาคอุตสาหกรรม ในหัวข้อ Decarbonization and Net Zero Strategies for the Automotive Industry ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2567 ณ อาคาร 15 ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีรายละเอียดในการให้ความรู้เกี่ยวกับ หลักการประเมินและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก ข้อกำหนดมาตรฐานสากลในการรายงานก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อพัฒนาไปสู่ Net Zero Emission
อ่านต่อ >>