ข่าวสาร
September 17, 2024
คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ บางเขน และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา จัดงานแถลงข่าวการจัดซื้อสัญญาอนุญาต (license) LinkedIn Learning และ TalentInsights ที่เป็นแพลตฟอร์มคอร์สออนไลน์และฐานข้อมูลเชิงลึกของผู้ใช้บัณฑิตจาก Linkedin Singapore Pte. Ltd. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมสุมินทร์ สมุทคุปติ์ อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มก. เพื่อใช้ในการพัฒนาทักษะทางวิชาการการพัฒนา Soft Skills การเตรียมตัวสําหรับการสมัครงาน การได้รับการรับรองความรู้ และทักษะการสร้างเครือข่ายทางวิชาชีพการเรียนรู้ ตลอดชีวิตและการพัฒนาทักษะตามความสนใจส่วนบุคลสำหรับนิสิต อาจารย์และบุคลากร โดยมีผู้ร่วมลงนามในสัญญา 4 ท่าน ได้แก่ 1. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิสิฏฐ์ ศงสะเสน รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและการเรียนรู้ตลอดชีวิต และรักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ 2. ศาสตราจารย์ ดร.วันชัย ยอดสุดใจ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ บางเขน 3. รองศาสตราจารย์ ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา และรักษาการแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา 4. Mr.Artul Harkisanka, Regional Business Head จาก LinkedIn นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารคณะต่าง ๆ อาจารย์ และนิสิตเข้าร่วมงาน โดยในงานประกอบด้วยพิธีลงนามในสัญญา การถ่ายภาพเป็นที่ระลึก การสาธิตการใช้งาน LinkedIn Learning และ การเสวนากับนิสิตที่ได้ใช้งาน LinkedIn Learning Platform แล้ว
อ่านต่อ >>
September 17, 2024
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา นำโดย รศ.ดร.สถาพร เชื้อเพ็ง รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา รักษาการแทนคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา และ รศ.ดร. อบ นิลผาย รองคณบดีฝ่ายพัฒนาองค์กร ได้เข้าร่วมเดินทางพร้อมกับผู้แทนจากมหาวิทยาลัยไทยทั้ง 11 แห่ง ในการศึกษาดูงานและประสานความร่วมมือกับบริษัทเอกชนและสถาบันการศึกษา ณ เมืองเซินเจิ้นและเมืองกวางโจว มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ทางด้านระบบหุ่นยนต์และอัตโนมัติ รวมทั้งเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า โดยมีบริษัทเอกชนชั้นนำให้การต้อนรับ ได้แก่ Dobot Robotics, BYD, CATL, และ GuangDong He Ying พร้อมทั้งสถาบันการศึกษาของจีนมากกว่า 30 แห่ง ในระหว่างวันที่ 10-14 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
อ่านต่อ >>
September 17, 2024
ทีมRobodis และทีม KU Ducky Team จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือก 2 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท. วันที่ 15 ก.ย. 67 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี - การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้ส่งนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 2 ทีม และได้รับคัดเลือกจากทาง กยท. ทั้ง 2 ทีม พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ดังนี้ ผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” จากทีมRobodis ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post - Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลงาน “Intelligent IoT Rubber Tapping Robot” จากทีม KU Ducky Team สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) ประเภทโจทย์การแข่งขัน Rubber Tapping Efficiency : การใช้ IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของ rubber tapping โดยมี ผศ.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง รายชื่อสมาชิกในทีม Robodis 1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ รายชื่อสมาชิกในทีม KU Ducky Team 1. Mr. Arya Pangging ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) 2. Mr. Pattanawit suriyo ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) 3. Mr. Shine Lin Htet ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
อ่านต่อ >>
September 16, 2024
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา จัดโครงการเสริมศักยภาพนิสิต ในกิจกรรมอบรมขับขี่ปลอดภัย ปีการศึกษา 2567 เพื่อให้นิสิตได้รับความรู้เกี่ยวกับกฏจราจรและการใช้รถใช้ถนนให้ถูกต้อง เกิดจิตสำนึกความปลอดภัยทางถนนและเสริมสร้างวินัยจราจร โดยมี นายพิรุฬห์ ผลพานิช หัวหน้าครูฝึกสอนจากบริษัท มิตรยนต์พัทยา จำกัด และทีมงาน เป็นวิทยากรให้ความรู้ทั้งในภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ ณ อาคาร 23 ปฏิบัติการวิจัยทางวิศวกรรม
อ่านต่อ >>
September 15, 2024
ทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือกจาก 1 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท. วันที่15 กันยายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี - การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป โดยทีมRobodis จากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ติด1 ใน 5 ทีม ที่ได้รับการคัดเลือกจาก กยท. พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ในชื่อผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post - Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง รายชื่อสมาชิกในทีมRobodis 1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์ 5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
อ่านต่อ >>