ทีมRobodis และทีม KU Ducky Team จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือก 2 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท.
ทีมRobodis และทีม KU Ducky Team จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้รับคัดเลือก 2 ใน 5 โครงการวิจัย เตรียมผลักดันต่อยอดชิ้นงาน มุ่งสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา จาก กยท.
วันที่ 15 ก.ย. 67 ณ โรงแรมแกรนด์ริชมอนด์ นนทบุรี – การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) คัดเลือกข้อเสนอโครงร่างงานวิจัยด้าน IoT (Internet of Things) ยางพารา ของนิสิต นักศึกษา ภายใต้โครงการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ด้านยางพารา ที่ กยท มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมสนับสนุนและเสริมสร้างศักยภาพการวิจัยด้านยางพาราให้กับนักวิจัย และเกิดการสร้างงานวิจัยใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านยางพารา ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกโครงร่างงานวิจัยจาก 15 หัวข้อ เหลือ 5 หัวข้อ เพื่อเตรียมผลักดันสู่การพัฒนาเป็นชิ้นงานต่อไป
โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา ได้ส่งนิสิตเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 2 ทีม และได้รับคัดเลือกจากทาง กยท. ทั้ง 2 ทีม พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท ดังนี้
ผลงาน “QualiTex Vault: นวัตรกรรม IoT ถังเก็บรักษาน้ำยางเพื่อรักษาคุณภาพ” จากทีมRobodis ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประเภทโจทย์การแข่งขัน หัวข้อที่ 7 Post – Harvest Quality Control : การใช้ IoT เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำยางตลอดกระบวนการเก็บ น้ำยาง การขนส่ง หรือการแปรรูป โดยมี อ.ประสิทธิชัย ณรงค์เลิศฤทธิ์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ผลงาน “Intelligent IoT Rubber Tapping Robot” จากทีม KU Ducky Team สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) ประเภทโจทย์การแข่งขัน Rubber Tapping Efficiency : การใช้ IoT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตของ rubber tapping โดยมี ผศ.ดร.กิตติพงษ์ เยาวาจา หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ศรีราชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ดร.กฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง เผยถึงหลักเกณฑ์การตัดสินว่า คณะกรรมการจะพิจารณาผลงานที่ตรงกับโจทย์วิจัยที่ กยท. กำหนดมากที่สุด รวมถึงความเป็นไปได้ในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ได้จริง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความใหม่ของนวัตกรรม คุณค่าผลงาน แนวทางการพัฒนาในอนาคต/ระดับการพัฒนาของผลงาน และศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนประโยชน์และผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยทั้ง 5 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำวิจัยตามข้อเสนอโครงการฯ และผลิตเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) เตรียมนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาผู้ชนะตามเกณฑ์ที่ กยท. กำหนดอีกครั้ง
รายชื่อสมาชิกในทีม Robodis
1.นายปรมินทร์ บุญหนัก ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
2.นายปัฐมชาติ เชื้อกรด ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
3.นางสาวรินรดา คัตตพันธ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
4.นางสาวสิริวิมล แสงทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
5.นายอภิรักษ์ นามวงษ์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสารสนเทศศาสตร์
รายชื่อสมาชิกในทีม KU Ducky Team
1. Mr. Arya Pangging ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
2. Mr. Pattanawit suriyo ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
3. Mr. Shine Lin Htet ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
4. Mr. Natthanant Tantitharanukul ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)
5. Mr. Min Aung Thu Hein Htut ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ)