หน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลังงานเขียวอัจฉริยะ (G-SET)
หัวหน้าหน่วยวิจัย ผศ.ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช
นวัตกรรมการบริหารพลังงานแบตเตอรี่แบบแยกกลุ่ม
Innovation of Decentralized Group-Based Battery Energy Management: DBEM
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ (G-SET)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
เว็บเพจ : https://www.g-set.education/

ปัญหาของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีแบตเตอรี่แบบดั้งเดิม – มีข้อจำกัดของการประจุและคายประจุของแบตเตอรี่ทำให้ยากในการออกแบบให้สามารถกักเก็บพลังงานได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น ช่วงฤดูฝนไม่มีแดด – แบตเตอรี่ที่ติดตั้งในระบบต้องเป็นชนิดเดียวกันและมีค่าความจุไฟฟ้าเหมือนกัน ถ้าแตกต่างกันจะทำให้แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานสั้น และจำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ทั้งระบบ – ระบบขาดความน่าเชื่อถือและคุณภาพกำลังไฟฟ้าลดลง – ประสิทธิภาพพลังงานรวมของระบบต่ำ
แนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรม DBEM
การควบคุมการประจุแบตเตอรี่สำหรับระบบที่มีแบตเตอรี่ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกันได้ และมีความยืดหยุ่นในขนาดของแบตเตอรี่ที่มีในวงจรทำให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดจากการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด (รังสีอาทิตย์และลม)

ระบบพลังงานหมุนเวียนแบบดั้งเดิม

ความคุ้มค่าของนวัตกรรม DBEM
ระบบ DBEM สามารถช่วยลดขนาดระบบโซลาร์เซลล์และจำนวนแบตเตอรี่ลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิมที่มีลักษณะและปริมาณความต้องการไฟฟ้าเหมือนกัน โดยสามารถลดเงินลงทุนสร้างระบบลงได้ถึง 25% จากเงินลงทุนของระบบที่ไม่มีระบบ DBEM ส่งผลให้ระบบคืนทุนเร็วขึ้น และลดค่าไฟฟ้าต้นทุนลงได้
นวัตกรรม DBEM เหมาะสมกับใคร?
นวัตกรรมนี้สามารถนำไปใช้กับระบบผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียนแบบอิสระที่มีแหล่งจ่ายพลังงานไม่แน่นอน เช่น ระบบโซลาร์เซลล์ กังหันลม หรือระบบที่มีพลังงานหมุนเวียนที่ต้องการพัฒนาเป็นระบบกริดอัจฉริยะ (Smart grid system) ในเขตชุมชนเมืองที่มีความต้องการไฟฟ้าสูง และระบบไมโครกริดอัจฉริยะ (Smart microgrid system) หรือระบบนาโนกริดอัจฉริยะ (Smart nanogrid system) ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงได้ยาก เช่น เกาะ และภูเขา หรือพื้นที่ที่ต้องการเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือของไฟฟ้าสูงเช่น แหล่งอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว หรือยานยนต์ไฟฟ้าเช่น รถไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า เป็นต้น

ได้รับรางวัลนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2563
จัดโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

เครื่อง DBEM ต้นแบบ และระบบสาธิตนาโนกริดโซลาร์เซลล์-แบตเตอรี่
ติดตั้ง ณ อาคาร 2 ปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุมารินทร์ แสงพานิช
หัวหน้าหน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ (G-SET)
ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
อีเมล umarin@eng.src.ku.ac.th โทรศัพท์ 038-354580-3 ต่อ 662904 Facebook: Umarin KU Src
วิศวกรรมข้อมูลเพื่อสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกกรรม
Advanced Data Engineering for Innovation Driven Society
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ (G-SET)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชา
เว็บเพจ : https://www.g-set.education/


การเปลี่ยนถ่ายไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ส่งผลให้เกิดการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ การเกษตร การก่อสร้าง และพลังงาน ฯลฯ การจะนำข้อมูลปริมาณมหาศาล (Big Data) มาสร้างคุณค่าเพื่อผลักดันให้เกิดนวัตกรรมขึ้นในสังคมได้นั้น จำเป็นต้องใช้วิธีการทางวิศวกรรมข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Engineering) และมีการบูรณาการข้ามศาสตร์
หน่วยวิจัย G-SET มีความร่วมมือด้านการวิจัยทางวิศวกรรมข้อมูลขั้นสูงร่วมกับหลายหน่วยงาน ได้แก่ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการก่อสร้างและบำรุงรักษา (CONTEC) แห่งสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร การทางพิเศษแห่งประเทศไทย บริษัท Shutoko ประเทศญี่ปุ่น และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านอณูชีววิทยาและจีโนมกุ้ง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แพลตฟอร์มวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการแสดงผลเพื่อการวิจัยจีโนมกุ้ง
A Comprehensive Data science and Visualization Platform
for Shrimp Genomics Research


• การระบาดของโรคตายด่วน (EMS) ในช่วงปี ค.ศ. 2012 ถึงปี ค.ศ.2015 ทำให้ผลผลิตกุ้งลดลงกว่า 40% ส่งผลให้เกษตรกรประสบภาวะขาดทุน โรงงานแปรรูปขาดวัตถุดิบ เลิกจ้างแรงงาน และมูลค่าการส่งออกลดลง
• โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาฐานข้อมูลและเครื่องมือชีวสารสนเทศ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงผลข้อมูลจีโนมกุ้งแบบครบวงจร เพื่อสนับสนุนการวิจัยด้านการต้านทานโรคในกุ้ง

ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่องานตรวจสอบและบำรุงรักษาทาง
An Information System for Expressway Inspection and Maintenance

• ทางพิเศษเฉลิมมหานครระยะทาง 27.2 กม. เปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2524
• การตรวจสอบและบำรุงรักษาทาง มีข้อจำกัดทั้งทางด้านเวลา งบประมาณ และกำลังคน
• โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตรวจสอบและบำรุงรักษาทางพิเศษเฉลิมมหานคร ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบงานอื่น เช่น InfraDoctor ของบริษัท Shutoko ประเทศญี่ปุ่นได้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กุลวดี สมบูรณ์วิวัฒน์
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีพลังงานสีเขียวอัจฉริยะ (G-SET)
ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
อีเมล์ kulwadee@eng.src.ku.ac.th โทรศัพท์ 038-354580-3 ต่อ 662904